ขอบคุณรูปจาก Chinna แห่ง D-addicts
(คนปล่อย Hardsub ค่ะ)
มาต่อด้วยเรื่องเทคนิคการแปลค่ะ(。・∀・)
(( จันรู้สึกเหมือนเป็นอาจารย์มาแลคเชอร์วิชาการแปลยังไงไม่รู้เนาะ
แต่จันชอบวิชานี้มากเลยนี่นา
หาเรียนข้างนอกยากนะคะ วิชานี้ ))
1. การแปลคำเฉพาะ (´・ε・`)
ซับไตเติลหลายเรื่องทำเอาหัวหมุน
เพราะว่ามาเป็นชื่อเฉพาะที่ไม่รู้จัก
อย่างชื่อสัตว์ที่บ้านเราไม่มี
ชื่อวรรณคดีที่เราไม่รู้จัก (*^_^*)A
ถ้าเจอแบบนี้
หลายคนมักจะใส่ footnote มาในซับไตเติล
อย่างในเรื่องที่จันแปล (;´Д`)
ซับeng
Today, we’ll be continuing with ‘The Pillow Book’.
(T/N: “The Pillow Book” or “Makura no Soushi” c. 990-1000 AD, is a collection of observations about court life by court lady, Sei Shonagon)
พอมาแปลจริงๆ จันตัดออกหมดเลยค่ะเหลือแค่
“เอาล่ะ..วันนี้เราจะเรียนวรรณคดี Makura no Soushi กันต่อ”
การใส่footnoteทำให้เสียพื้นที่ (。・∀・)
ที่จริงแล้วการแปลเราควรปรับบทส่วนนี้
เนื่องจากตรงนี้ไม่ใช่สาระสำคัญที่ต้องรู้ตำนานเพื่อเข้าใจเรื่อง (,,・∀・)
เราแค่เติมคำนำหน้าเพื่อบ่งบอกว่าเป็นอะไร
ก็จะทำให้ผู้ชมเข้าใจได้
อีก 1 ตัวอย่าง
คำว่า ‘chipmunk’
เวลาแปลสามารถทับศัพท์ได้เลยแล้วเติมว่ากระรอกลงไป
เป็นกระรอกชิปมั้ง
ตัวอย่างสุดท้าย
ในซับต้นฉบับเขียนประมาณว่า
“ได้ติดต่อ Stila กับ Jill ไว้แล้ว”
เวลาแปลเนื่องจากว่า brand Jill ไม่ค่อยแพร่หลายบ้านเรา
จึงต้องเติมคำว่า ‘แบรนด์เครื่องสำอางค์’ ลงไป
แล้วใช้ชื่อเต็มของ Jill เป็น
“แบรนด์เครื่องสำอางค์ Stila กับ Jill Stuart”
เป็นต้น (,,・∀・)
ตามทฤษฎีมีหลายเทคนิคที่นำมาปรับใช้ได้ (≧▽≦)
เช่น
1. การเติมคำนำหน้า(อย่างที่บอกไปแล้ว)
2. การเติมลักษณนาม เช่น ตัวชิปมั้ง
3. การเลือกใช้คำที่กว้างขึ้นหรือแคบลง
เช่น ‘เรียวกัง’ ของญี่ปุ่น ถ้าทับศัพท์ไปเลยก็คงงงๆ
เราอาจเลี่ยงเรียกเรียวกังไปเลยว่าเป็น ‘โรงแรม’
เป็นต้น
นี่ก็เป็นวิธีที่การแปลคำเฉพาะเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้footnoteนะคะ
2. แปลให้พอดีกับเสียง (o≧д≦)ノ
อันนี้ไม่ใช่เทคนิคหรืออะไรแต่เป็นความชอบเฉพาะตัวค่ะ (ノ-_-)ノ~┻┻
จริงๆมันเป็นหลักของการแปลบทพากษ์
แต่ว่าถ้าเราสามารถอ่านซับได้พอดีกับการฟังเสียงตัวละคร
จันว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ ! (‐∀‐)
ก็เป็นเทคนิคที่สร้างอรรธรสให้ผู้ชมอีกอย่างนึง
จริงๆการแปลไม่ใช่เป็นอะไรที่ตายตัวค่ะ
มีวิธีมากมายที่เราจะใช้เพื่อสื่อความหมายให้คนดูเข้าใจ
นี่เป็นเพียงตัวอย่างและประสบการณ์เล็กๆน้อยๆที่ได้จากการลองทำซับไตเติล อย่างจริงจัง
สิ่งสำคัญคือการดูหนังเยอะๆและเรียนรู้ไปเรื่อยๆค่ะ
อีกสิ่งหนึ่งคือการใส่ ‘ความตั้งใจ’ ลงไปในทุกตอน
“ถ้าเราใส่ใจกับงานของเรา มันจะออกมาดีเอง
การแปลไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์มีบ้าง
แต่ความสำคัญอยู่ที่วินัยมากกว่า”
ขอบคุณพี่ที่ฝึกงานที่สอนให้จันรู้เรื่องนี้ค่ะ
(พี่เค้าเป็นนักแปลด้วยค่ะ เลยอยากหยิบมาฝากกัน)
สำหรับจันแล้วการทำซับที่ดีก็มีเท่านี้แหละค่ะ
หวังว่าท่านที่กำลังอ่านอยู่จะเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้บ้าง
ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ
*********************
ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า
– แอดหนูจัน – บล็อกเกอร์ตัวกลม อารมณ์ดีที่ชอบหาอะไรทำสนุกๆ ภายในบ้าน รักการเขียน การอ่าน การวาดรูป และการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเครื่องเขียน อุปกรณ์งานฝีมือและอุปกรณ์ศิลปะ Craft it Myself • Draw my Life • Create my World