Supersave Money จำเป็น : ตอนที่ 3 – บริหารเงินทอง

คราวนี้เริ่มออกทะเลไปเรื่องเงินๆทองๆกันบ้าง

ก็ไหนๆพูดถึงการหาเงินเข้าแล้ว

จะให้เงินอยู่กับเรานานๆยังไงก็เป็นเรื่องที่ต้องรู้เหมือนกัน

.

ที่จริงจันเป็นคนใช้เงินเก่งมากค่ะ

ถ้าอะไรที่ชอบอย่างหนังสือหรือซีดี

ถ้าถูกใจจันก็ซื้อเลย

(แถมบ่ยั้นเรื่องราคาด้วยนะ 55)

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อจันสอนไว้ว่า “มีมากใช้มาก มีน้อยใช้น้อย”

ที่สำคัญคืออย่าเป็นหนี้

จันก็เลยต้องลดรายจ่ายอย่างอื่นหรือทำงานเสริม

เพื่อให้สมดุลกัน

.

การควบคุมรายจ่ายก็คือการหักห้ามใจตนเองและคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนใช้

แต่ไม่ใช่การตระหนี่หรืองก เอะอะก็ไม่จ่ายนะคะ

.

เคล็ดลับในการเก็บเงินจากประสบการณ์และหนังสือที่เคยอ่านมีดังนี้ค่ะ

1. ให้แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ

ส่วนที่ต้องจ่ายเช่นค่าโทรศัพท์ ค่าซื้อของ

ยืมตังค์เพื่อนไว้หรืออะไรก็ตามที่เป็นหนี้

ให้เราจ่ายไปให้หมดก่อนแล้วเงินที่เหลือคือเงินที่เราสามารถใช้ได้

เมื่อเคลียร์หนี้หมดแล้วให้เราแบ่งเก็บส่วนหนึ่ง

แล้วแบ่งเงินสำหรับใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์

เนื่องจากการแบ่งเป็นรายสัปดาห์นั้นไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป

และให้เราเบิกเงินเป็นรายสัปดาห์

อย่ากด ATM บ่อยๆ เพราะเราจะไม่รู้ว่าเราใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว

2. รู้จักจดรายจ่ายไว้บ้าง

จะได้เตือนสติตัวเองว่าเราใช้เงินมากน้อยขนาดไหนในแต่ละวัน

และจะได้เอามานั่งดูว่าค่าใช้จ่ายตรงไหนสามารถลดได้บ้าง

ดูวิธีได้ที่นี่ค่ะ

3. กระปุกหมูช่วยคุณได้

เศษตังค์อย่าคิดว่าไม่มีค่า

บาท สองบาทก็เงินเหมือนกันนะ

หาที่เก็บให้ดีอย่าให้ตกหล่น

พยายามหยอดกระปุกทุกวัน

ถ้าแตกแบงค์เพื่อเอาเงินไปหยอดกระปุกได้ก็ทำเถอะค่ะ

(แล้วพยายามหากระปุกที่แงะยากๆด้วยนะคะ

จะได้เก็บเงินอยู่)

4. เข้าร้านสะดวกซื้อให้น้อยลง

จริงๆแล้วเวลาเราหิวมักจะตรงดิ่งเข้าไปซื้อขนมใช่ไหมคะ

แต่จริงๆแล้วค่าขนมหรืออาหารว่างนี้

บางทีกินข้าวได้เป็นมื้อเลย

(ลองนึกว่าซื้อแฮมเบอร์เกอร์ข้าวเหนียวหมูราคา 22 บาทได้ข้าวจานนึง)

ถ้ามีเวลาหรือโรงอาหารอยู่ข้างๆก็ไปกินข้าวเลยดีกว่าค่ะ

5. อยู่บ้านให้มากขึ้น ออกข้างนอกให้น้อยลง

แค่เราก้าวออกจากบ้านก็มีค่าใช้จ่ายแล้ว

ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าซื้อของ

ถ้าเราสามารถหาอะไรทำอยู่บ้านได้มากขึ้น

ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้ค่ะ

6. ลองฝากเงินในบัญชีฝากประจำ

บัญชีฝากประจำก็คือการฝากเงินทุกเดือนภายในเวลาที่กำหนด

(ส่วนมากที่เห็นคือ 2 ปี และขั้นต่ำคือ 1000 บาทต่อเดือน)

โดยไม่เบิก..บัญชีลักษณะนี้จะได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์

แต่เงื่อนไขต่างๆต้องลองศึกษาดูค่ะ

ถ้าทำได้ก็อยากให้ฝากกันนะ เพราะจะได้ฝึกตัวเอง

และได้เงินเพิ่มขึ้นจากระเบียบวินัยของตัวเองด้วย

7. กำหนดเงินขั้นต่ำในบัญชี

ต้องบอกตัวเองว่าเงินขั้นต่ำในบัญชีต้องมีเท่าไหร่

ถ้ามันไม่ถึงก็ต้องหาเพิ่ม

แล้วส่วนเกินจะใช้ได้เท่าไหร่

.

ทั้งหมดนี้เป็นหลักที่จันใช้ค่ะ

จริงๆเรื่องการควบคุมเงินเป็นเทคนิคเฉพาะตัว

เพราะคนเราธรรมชาติไม่เหมือนกัน

อยากให้ลองเอาไปใช้เป็นแนวทาง

และปรับเข้ากับตัวเองดูค่ะ

ปล. ครั้งหน้ามีวิธีประหยัดแบบสุดๆ

จากรายการโกโกริโกะ เกมส์กึ๋ยมาฝากกันด้วยนะ

(ใช้ชีวิตอย่างประหยัด 1 เดือน 10000 เยน)

*********************
ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า