Nuchun's Atelier

บล็อกรีวิวเครื่องเขียน l สีมาร์คเกอร์ l อุปกรณ์วาดรูป พร้อมวิธีทำงานประดิษฐ์สนุกๆ ที่ทำได้ที่บ้าน

[Drawing] Underpainting Techniques

ขอเลื่อนเวลาอัพเดทบล๊อคเป็นวันเสาร์ เวลา 20.30 น. นะคะ ติดตามกันได้เด้อ

วันนี้จะมาบอกเคล็ดลับและเบื้องหลังการวาดภาพและระบายสีภาพล่าสุดค่ะ
image

ภาพนี้ อาจจะดูไม่ค่อยออกกันเท่าไหร่ แต่จันลองใช้เทคนิคใหม่โดยใช้วิธีการระบายสีที่ใช้กันในสีน้ำค่ะ

ดาวน์โหลด

Credit : amazon.com

วิธีนี้ได้มาจากหนังสือ Gothic Lolita Punk: Draw Like the Hottest Japanese Artists เป็นหนังสือสอนวาดภาพสไตล์ Step by Step ของนักวาดภาพหลายคน นักวาดคนหนึ่งในเล่มนี้คือนักวาดภาพสีน้ำคนหนึ่งชื่อคุณ tama ค่ะ (http://tamaxxx.egoism.jp)

wpid-img_77681531049285.jpeg wpid-img_77723570945673.jpeg

งานของคุณทามะจะดูอึมครึม แฝงความหวาน (ปนสยองเล็กๆ) เป็นนักเขียนภาพประกอบคนหนึ่งที่จันชอบมากๆ
image

คุณทามะรองพื้นด้วยสีก่อนระบายสีจริง ทำให้สีของทั้งรูปมีความกลมกลืนกัน ไม่มีสีใดสีหนึ่งที่โดดออกมาหรือแตกต่างกันชัดเจน และยังใช้น้ำหนักพู่กันได้มีเสน่ห์มากๆ ทีนี้จันเอามาดัดแปลงเป็นมาร์คเกอร์ยังไงลองมาดูกันนะคะ

image

ครั้งนี้จันใช้กระดาษการ์ด 180 แกรมวาด ผิวเวลาสแกนจะออกมาเนียนๆ ไม่เป็นคลื่นๆ เหมือนพวกกระดาษ 100 ปอนด์หรือกระดาษสีน้ำค่ะ แต่ข้อเสียคือถ้าลงสีไปเยิ้มๆ หรือลงหลายชั้น หมึกจะเลอะออกมานอกเส้นได้ค่ะ จันใช้ดินสอสีไม้ระบายน้ำสีน้ำตาลวาดภาพ ลองใช้เทคนิคการทำเส้นหนักเส้นเบาและการใช้เส้นลงสีเหมือนวิธีการวาดภาพขาวดำค่ะ
image
ต่อมาเป็นเทคนิคการ underpainting ค่ะ ว่ากันง่ายๆ ก็เหมือนการลงสีรองพื้นเพื่อปรับสีพื้นกระดาษขาวๆ ให้เป็นสีโทนที่เราต้องการ พอลงสีอื่นๆ ทับไป สีพื้นที่เรารองไว้จะผสมกับสีเดิม ทำให้เราไม่หลุดโทนค่ะ

wpid-labelbox_20150106_201937.jpg wpid-labelbox_20150106_201959.jpg

สิ่งที่จันใช้ก็คือหมึกเติมมาร์คเกอร์ สีเบอร์ 0 แทนน้ำ หมึกเติมสีอื่นๆ พยายามเลือกสีที่ไม่กระทบต่อสีหลักมากนัก ไม่ควรใช้สีสดๆ (ในหนังสือใช้คำว่า High-Saturation หรือสีที่อิ่มตัวมากๆ งงอยู่ดี – -*) หมึกที่จันใช้ในงานนี้ก็เอาตามที่มีอยู่ (มีอยู่ไม่กี่หลอด 55) เน้นโทนชมพู copic R20 ส้ม copic E02 เหลือง copic Y11 ใช้พู่กันแบบมีที่ใส่น้ำในตัว (นิยมใช้ในงานสีไม้ระบายน้ำค่ะ) จริงๆ ของคุณทามะจะเลือกใช้พู่กันขนาดใหญ่เท่าที่จะหาได้ในขั้นตอนนี้ค่ะ

wpid-labelbox_20150106_195155.jpg

จันเติมเบลนเดอร์เข้าไปในพู่กัน ไม่ต้องใส่เยอะนะคะ เพราะหัวพู่กันอันนี้ไม่ค่อยประหยัดหมึกเท่าไหร่ค่ะ ค่อยๆ เติมไปดีกว่า หาจานสีพลาสติกหรือจานพลาสติกใส่อาหาร ของจันใช้นามบัตรเก่าที่เขายกเลิกไปแล้ว เพราะมันเป็นกระดาษเคลือบลามิเนทค่ะ ถ้ากระดาษธรรมดาจะซึมสีได้ ดูให้ดีๆ หรือใครจะใช้แผ่นใสก็ได้นะ หยดสีหมึกเติมลงไป แล้วเอาพู่กันจุ่มหมึกก่อนจะไล่แต้มลงกระดาษทีละจุด ลองดูส่วนหนักเบา สีอ่อนสีเข้มดีๆ นะคะ

wpid-labelbox_20150106_195134.jpg

ของจันนี่ลายพู่กันยังไม่ค่อยสวย จันว่าจันยึดติดกับการระบายลงกรอบไปนิดนึง ถ้าใจกล้ากว่านี้ โทนสีที่ได้น่าจะเห็นชัดกว่านี้

wpid-labelbox_20141226_244813.jpg

จากนั้นใช้มาร์คเกอร์ที่ใช้ปกติลงแบคกราวด์กว้างๆ บอกตามตรงว่าอยากจะหยุดมือไว้ตรงนี้เลยอ่ะค่ะ สีมันอ่อนหวานและสวยมากๆ ชอบ แต่มันไม่ได้อ่ะ ไม่เสร็จ ตามวิธีของทามะจะลงแบคกราวด์กว้างๆ ทั่วภาพ จริงๆ จันควรจะลงสีด้านล่างด้วย แต่เพราะยังคิดไม่ออก ณ ตอนนั้นเลยเว้นไว้ก่อน
wpid-labelbox_20141227_024157.jpg

ใช้มาร์คเกอร์ลงสีจัดๆ ตามรายละเอียดต่างๆ แต่ก็ยังคิดไม่ออกอยู่ดีว่าข้างล่างจะระบายสีอะไรเลยเว้นไว้อีก
image
ลงไปได้ส่วนนึงจันก็เริ่มเอาปากกาขาวมาระบาย ซึ่งจริงๆ มันควรจะลงสุดท้าย แต่จันใจร้อน เลยลงไปพร้อมๆ กันเลย
image

ระบายต่อไป ~~☆ จะเห็นว่าหลายๆ จุดในภาพมีสีออกส้มๆ ชมพูๆ แซมอยู่ เห็นกันไหมนะ?
image

จนเสร็จ จันใช้ปากกาสีทองสองสามจุดของภาพด้วย (จริงๆ คือผิดหวังนิดหน่อยตรงนี้ มันดูไม่ค่อยเข้าเท่าไหร่ 555)

ใครที่มีหมึกเติมโคปิคอยู่บ้างก็ลองใช้เทคนิคนี้ดูนะคะ สนุกไปอีกแบบนึง อยากให้ลองกันค่า

*********************

ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า