[Digital x Drawing] ตอนที่ 5 : การทำ image trace และการลงสี

วันนี้เราจะมาทำ image trace และลงสีกันนะคะ

อย่างที่อธิบายไปครั้งที่แล้ว ว่า Image Trace คือการแปลงภาพจากภาพธรรมดาให้เป็น Vector เราจะใช้ภาพขาวดำ ภาพสี ก็ได้ในการทำ vector แต่ควรเป็นภาพที่มีสีระดับเดียว ไม่ไล่สี ไม่ฟุ้งเบลอ และเห็นขอบของสีแต่ละช่องชัดเจน เพราะส่วนที่ฟุ้งหรือเบลอ ความฟุ้งนั้นจะหายไปเมื่อเราใช้ image trace ค่ะ

o102407681332829639890 สมมติใช้รูป Hirasawa Yui จาก K-ON! แล้วกันนะ

Screenshot 2014-03-27 17.21.15

สังเกตว่าภาพซ้ายแก้มจะกลายเป็นวงกลมชัดเจนขึ้นมาเลย ไม่เนียน

Screenshot 2014-03-27 17.18.39

แต่ถ้าเราใช้ฟังก์ชั่นแปลงภาพคุณภาพสูง นอกจากขยายภาพแล้ว เรื่องการเปลี่ยนสี ลบพื้นหลังจะทำไม่ได้เลย เพราะ vector จะนัวเนียกันไปหมดค่ะ (ดูภาพบน) รูปถ่าย รูปเหมือนจริง ก็จะมีปัญหาเรื่องนี้เช่นเดียวกันค่ะ

ถ้าอย่างนั้นแล้ว image trace เหมาะกับภาพแบบไหน

1. ภาพการ์ตูน คาแรคเตอร์

2. ภาพวาดที่ลงหมึกปากกา มีเส้นชัดเจน ที่เราต้องการใช้ลงสี

3.ภาพที่รายละเอียดไม่เยอะจนเกินไป

วิธีทำ image trace

2014-04-28_152155 2014-04-28_152348

1. เปิดโปรแกรม Adobe Illustrator ขึ้นมาก่อนค่ะ ตั้งหน้ากระดาษขาวที่ File > New… เซ็ทค่าต่างๆ  ความกว้าง ความยาว หน่วยวัดของชิ้นงาน แล้วกด OK

2014-04-28_152751

2. ใช้คำสั่ง File > Place… เลือกภาพที่เราต้องการทำ image trace วางลงบนกระดาษที่เราตั้งค่าเมื่อตะกี้ หรือจะลากรูปมาวางบนกระดาษเลยก็ได้นะคะ ได้ทั้งสองวิธี

2014-04-28_153039 2014-04-28_153140

3. กดที่รูปที่เราจะทำ Image Trace แล้วกดปุ่ม Image Trace ค่ะ (ค่า default ใช้ทำลายเส้นโอเคเลยนะ) ถ้าไม่ต้องการแบบ default กดลูกศรเล็กๆ ข้างๆ image trace จะมี option ต่างๆ ให้เลือกค่ะ แถบนี้บางครั้งอยู่บน บางครั้งอยู่ล่าง มันย้ายได้ ลองหาดูนะคะ

2014-04-28_174025 2014-04-28_174032

4. กด expand เป็นอันเสร็จจ้า

Trace all

Option ต่างๆ มีอย่างนี้ค่ะ

Default :  จะปรับภาพจากสีเป็นขาวดำทั้งหมดค่ะ ใช้ Trace ได้ดีกับพวกลายเส้นปากกา เมื่อ Trace เสร็จแล้วเราเติมสีต่างๆ เข้าไปได้ค่ะ

หมายเหตุ : โปรแกรมรุ่นใหม่ๆ จะทำให้เส้นเบลอก่อน Trace ซึ่งทำให้เส้นออกมาเรียบสวยไม่หยึกหยัก แต่รูปที่ละเอียดๆ เส้นจะเละได้ ถ้ารูปที่มีละเอียดมากๆ มีลาย มีเส้นเยอะๆ ให้ใช้โปรแกรมรุ่นเก่า Trace จะออกค่ะ แต่เส้นไม่สวยเท่า

2014-04-28_154430 2014-04-28_170828

High Fidelity Photo : โหมดนี้จะปรับภาพสีตามจริงและดูไกลๆ จะเหมือนเป็นภาพจริงค่ะ โปรแกรมจะดูค่าสีที่ต่างกันแล้วจับสีที่ต่างกันนั้นเป็นกลุ่มๆ เหมือนภาพโมเสส Vector ที่ Trace ออกมาจะซับซ้อนมาก ไม่เหมาะกับใช้ลงสีค่ะ แต่ถ้าต้องการขยายภาพอย่างเดียวโอเคอยู่ค่ะ

2014-04-28_171805

Low Fidelity Photo : คล้ายๆ กับ High Fidelity Photo แต่จะจับสีได้หยาบกว่าค่ะ สีที่ใกล้เคียงกันจะรวมเป็นสีเดียวกันไปเลย

2014-04-28_172158

High Fidelity Photo / Low Fidelity Photo ตามลำดับ

แต่ถ้าเป็นภาพที่สีน้อยๆ และเห็นขอบสีชัดเจน ฟังก์ชั่นนี้ Trace ได้ดีทีเดียวค่ะ เส้นคม ไม่ยึกยัก รูปร่างของช่องใส่สีก็เหมือนที่ตาเราเห็น ไม่ค่อยผิดเพี๊ยนค่ะ

Screenshot 2014-03-27 17.20.15

3 Colors / 6 Colors / 16 Colors
Trace ตามจำนวนสีในรูปภาพค่ะ ไม่ว่าในรูปจะมีกี่สี่ ก็จะจัดกลุ่มสีให้ได้ครบตามจำนวนที่ระบุ คล้ายๆ กับ Fidelity Photo แบบจำกัดสีค่ะ

นอกนั้นจันไม่ขอพูดถึงแล้วกันนะคะ เพราะฟังก์ชั่นเหล่านั้น จันไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่อ่ะนะ
ปล. 4 ฟังก์ชั่นสุดท้ายที่เห็นเป็นรูปชมพูนั่นคือ ฟังก์ชั่น trace เอาแต่เส้น พื้นที่สำหรับใส่สีจะไม่มีในฟังก์ชั่นเหล่านี้ค่ะ

คราวนี้เมื่อเรา Trace แล้ว เราจะลงสีอย่างไร
หลักการง่ายๆ ของการลงสีคือการจิ้มจุดที่จะลงสีแล้วเลือกสีใน swatch ค่ะ

Screen Shot 2014-04-19 at 10.21.39 PM

อย่างแรกใช้ลูกศรขาวตรงแถบเครื่องมือจิ้มส่วนที่เราต้องการลงสี

2014-04-30_190009

ถ้าใช้ลูกศรดำ ลูกศรดำจะไปเลือกงานทั้งชิ้นที่เรา Trace ไว้ หรือทุกสิ่งทุกอย่างที่เรา Group ไว้ค่ะ

Screen Shot 2014-04-19 at 10.21.45 PM

เลือกสีค่ะ ณ ที่นี้จันใช้สีจาก swatch ซึ่งจันเลือกไว้ตั้งแต่ก่อนเริ่มลงสี งานจันขนาด 90×90 cm. ชิ้นงานใหญ่มากๆ ถ้าไม่เลือกสีไว้ก่อน ค่อยๆ มาเลือกสีใหม่จะช้ามากและคุมโทนยาก ดังนั้นจันแนะนำเลยนะคะ ใครที่ลงสีภาพใหญ่ๆ มีรายละเอียดเยอะๆ ทำ Swatch เป็นชุดสีไว้ก่อนเลย แล้วค่อยลงสีทีเดียวค่ะ

* Swatch ถ้าเครื่องใครไม่ขึ้นแถบเมนูด้านข้างตามรูป เข้าไปที่ Window > Swatches ค่ะ

Screen Shot 2014-04-19 at 10.21.56 PM

จิ้มสีที่เลือกไว้เป็นอันเสร็จค่า image trace ต้องนั่งจิ้มสีทีละจุดๆ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ค่ะ ไม่ยากแต่ใช้ความอดทน ถ้าจะเลือกหลายจุดใช้ลูกศรขาวพร้อมกับกด Shift แล้วคลิกที่ช่องลงสีก็จะเลือกได้ทีละหลายๆ ช่องค่ะ

สมมติถ้าเราอยากเปลี่ยนสีหนึ่งๆ ที่เราลงสีไปแล้วทั้งหมดในรูปภาพพร้อมกัน (วิธีนี้ใช้กับการเปลี่ยนสีเส้นได้นะคะ)

Screen Shot 2014-04-19 at 10.35.45 PM Screen Shot 2014-04-19 at 10.35.52 PM

ขั้นแรกใช้ลูกศรขาวจิ้มส่วนที่มีสีที่เราต้องการเปลี่ยน เลือกคำสั่ง Select > Same > Fill&Stroke แค่นี้

Screen Shot 2014-04-19 at 10.36.03 PM

ทุกชิ้นที่มีสีเดียวกับที่เราเลือกและไม่ได้ล๊อคอยู่ก็จะถูกเลือกทั้งหมดเลยค่ะ แล้วเราก็เปลี่ยนสีได้เลย

ทีนี้ถ้าเส้นที่ Trace ออกมา รู้สึกว่าหนาไป เราพอทำอะไรได้บ้าง
เทคนิคอนุบาลของหนูจันคือทำให้ช่องที่เราใส่สีไว้ข้างในใหญ่ขึ้นเพื่อบังเส้นนั่นเองค่ะ

Screen Shot 2014-04-19 at 10.24.30 PM Screen Shot 2014-04-19 at 10.24.38 PM

ใช้ลูกศรขาวเลือกช่องที่อยู่ในเส้นที่เราอยากให้บางลง ใส่สี stroke เป็นสีเดียวกับสีที่ลงไว้

Screen Shot 2014-04-19 at 10.25.38 PM

แล้วเพิ่มขนาด stroke ค่ะ เมื่อส่วนที่ลงสีไว้ใหญ่ขึ้นไปบังเส้น เส้นก็จะเล็กลงไปเองค่ะ แต่ถ้าอยากลดพื้นที่ลงสีลง ก็เปลี่ยน stroke เป็นสีเดียวกับรอบๆ ก็จะได้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามค่ะ

นี่ก็เป็นเรื่องราวทั้งหมดเกี่ยวกับการประยุกต์ภาพวาดของเราไปเป็นไฟล์ดิจิตอลเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นค่ะ ใครที่ไม่มีพื้นฐานเรื่องเหล่านี้เลยก็อยากแนะนำให้เรียนรู้ไว้ค่ะ เพราะมันเอามาใช้ประโยชน์ได้มากมายจริงๆ

แล้วพบกันใหม่ในซีรีส์หน้า ขอบคุณที่ติดตามนะคะ

*-*-*-*-*-*-*-*-*-* Advertisement *-*-*-*-*-*-*-*-*-*

ส่วนหนึ่งของ Tutorial ในครั้งนี้มาจากงานออกแบบผ้าพันคอให้แบรนด์ Little Googgig ค่ะ

10271489_1492278197655358_4570603007428322073_n

ใครสนใจสั่งผ้าพันคอที่จันออกแบบก็ลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่

https://www.facebook.com/littlegooggig

ครั้งนี้คอนเซปต์คือผ้าพันคอแห่งความสุขค่ะ
จันรวมของนำโชคตามความเชื่อของจีนหลายๆ อย่างมารวมไว้ เพื่อให้สุขทั้งคนใส่สุขทั้งคนรับ
นอกจากนี้ได้ออกแบบแพคเกจ กระดาษห่อ และโลโก้ของแบรนด์ด้วยค่ะ

*********************

ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า

42 thoughts on “[Digital x Drawing] ตอนที่ 5 : การทำ image trace และการลงสี

Comments are closed.