ก่อนหน้านี้จันส่งผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์เข้าประกวดกับบริษัท Nara Factory ผู้ผลิตดินปั้นหลากหลายชนิดค่ะ
เพราะผ่านเข้าไปรอบ 35 คนสุดท้าย เลยได้อานิสงส์ได้ดินมาใช้ทำงานฟรีๆ เยอะมากเลย
พอโพสต์ภาพไป มีคนทวิตมาถามเรื่องดินนี้ เลยมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับดินประเภทนี้ให้ได้อ่านกันค่ะ
Q: ดิน Proto คืออะไร
A: ดินที่ให้ความรู้สึกแบบกำลังทำขนมเพราะต้องปั้นแล้วเอาเข้าอบ~ (ไม่ใช่ละ =”=) ดิน Proto เป็นดิน Polymer Clay ชนิดนิ่ม มีสีให้เลือกมากมายและใช้การผสมดินเพื่อผสมสีค่ะ (ดูสีได้ในเว็บ Official นะ) เมื่อปั้นเป็นชิ้นงานเรียบร้อยก็นำไปอบในเตาอบ (ห้ามใช้ไมโครเวฟนะ) เมื่ออบแล้ว ชิ้นงานที่ปั้นจะแข็งเหมือนพลาสติก ทนน้ำ ทำความร้อน นำไปใช้ทำสิ่งของตั้งโชว์ โมเดลต่างๆ ได้ค่ะ (แต่อย่าเอาไปปั้นภาชนะใส่ของกินนะ) 1 ห่อราคา 29 บาทค่ะ
Q: ดินแข็งมาก ทำไงดี!?
A: 1. ไม่เก็บดินในห้องแอร์ 2. กำไว้ในอุ้งมือก่อนนวด 3. ใช้เครื่องทุ่นแรงแล้วนวดกับเบบี้ออยล์
ตอนลองปั้นแรกๆ “โอ้ย ดินนี่แข็งมากเลย” จันที่คลึงดินในมือ บ่นออกมาไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง นวดดินเสร็จนี่มือระบมไปหมดทั้งที่หน้าซองเขียนว่า “Soft” แท้ๆ
- ความนุ่มของดินจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
ดินชนิดนี้ถ้าจะให้ปั้นได้อย่างสบายมือ ให้เก็บดินไว้ในอุณหภูมิห้อง ไม่ควรเก็บในห้องแอร์ค่ะ ถ้าเก็บในห้องแอร์ดินจะแข็ง ปั้นยาก - ก่อนปั้นกำดินในอุ้งมือก็จะช่วยวอร์มดินได้อีกทางหนึ่ง อุณหภูมิจากมือทำให้ดินนุ่มลงค่ะ ในทางตรงกันข้าม ถ้าปั้นแล้วรู้สึกว่าดินนิ่มเกินไป ปั้นเป็นรูปทรงยากก็เอาใส่ตู้เย็นสักสองสามนาที ดินก็จะแข็งขึ้นเพราะเจอความเย็นค่ะ
- นวดกับเบบี้ออยล์ก็ช่วยได้นะ
ใช้เครื่องรีดพาสต้าหรือใช้ค้อนทุบ แล้วใส่เบบี้ออยลงไปนวดๆ แต่เวลาอบอาจสีเพี๊ยนเล็กน้อยค่ะ ถ้าต้องนวดดินก้อนใหญ่ๆ เช่นนวดทั้งห่อหรือสองห่อพร้อมกัน จันแนะนำให้ค่อยๆ คลึงกับโต๊ะจะช่วยทุ่นแรงได้อีกทางหนึ่งค่ะ
เพื่อนที่เป็นนักปั้นบอกว่า ดิน Proto แต่ละสีแข็งนิ่มไม่เท่ากันด้วยค่ะ นอกจากนี้ ถ้านวดเรียบร้อยแล้วก็เก็บไว้ใช้ได้อีก แม้ถ้าเก็บไว้แล้วจะแข็งกว่าดินที่เพิ่งนวดใหม่ๆ แต่ก็จะนิ่มกว่าที่แกะจากห่อค่ะ
Q: แนะนำเทคนิคการผสมสีดินหน่อยสิ!
A: 1. ผสมสีขาวกับสีต่างๆ อัตราส่วน 1:1 จะได้สีพาสเทลสวย 2. ผสมทีละเยอะๆ และจดอัตราส่วนผสมไว้ด้วย
จากที่ลองมา การผสมสี ถ้าผสมสีขาวกับสีต่างๆ อัตราส่วน 1:1 จะได้สีพาสเทลสวย เวลาผสมทีแนะนำให้ผสมเยอะๆ หน่อย ให้พอใช้ ถ้าจดได้จด เบอร์อะไรผสมเบอร์อะไร ปริมาณเท่าไหร่ เพราะผสมกลางคันอาจจะไม่เหมื
Q: กะเวลาและอุณหภูมิของการอบยังไงดี
A: 1. วอร์มเตาอบก่อนอบ 2. อบรอบแรกด้วยอุณหภูมิต่ำๆ!
งานแต่ละชิ้นจะใช้เวลาอบไม่เท่ากันค่ะ ขึ้นอยู่กับรูปทรงและความหนาของงาน ถ้างานชิ้นหนาก็จะใช้เวลาอบนาน ถ้าชิ้นบางก็จะใช้เวลาอบน้อย แต่เทคนิคอย่างแรกเลยก็คือวอร์มเตาอบก่อนเพื่อให้อุณหภูมิคงที่ การอบให้อบรอบละ 10 นาทีด้วยอุณหภูมิต่ำๆ ประมาณ 80-100 องศา เพื่อให้ผิวด้านนอกแข็ง พออบเสร็จหนึ่งรอบก็พักให้เย็นก่อนจะอบรอบต่อไปค่อยเพิ่มความร้อนขึ้น (แต่อย่าให้เกิน 130 องศานะ) โดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาอบทั้งหมดประมาณ 30 นาทีค่ะ
ระวังกันด้วยนะ!
- ถ้าอบอุณหภูมิสูงตั้งแต่รอบแรกดินจะแตก
- ถ้าอบให้
สุกไปเลยทีเดียว จะทำให้ฟองอากาศที่อาจมีอยู่ด้านในดันออกมา ทำให้ผิ วเป็นตะปุ่มตะป่ำ ไม่สวย - ถ้าชิ้นงานบางแล้วตั้งไว้ใกล้หลอดไฟในเตาอบมากเกินไป ดินจะไหม้ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้
- อย่าใช้กระดาษฟรอยด์รองงานอบ เพราะจะไหม้ได้ค่ะ ถ้าเตาอบต้องใช้อบอาหารให้พลิกด้านหลังของถาดแทน (แต่ถ้าแยกเตากันได้จะดีกว่านะ)
Q: ดูยังไงว่าอบแห้งดีแล้ว
A: แค่ผิวด้านนอกแข็ง เล็บจิกไม่บุ๋มก็โอเค!
ถ้าอบชิ้นงานที่หนามากๆ ไม่จำเป็นต้องให้สุกถึงด้านในก็ได้ (ไม่ใช่สเต็กนะ ไม่สุกไม่เป็นไรหรอก) แค่ข้างนอกแข็งดี เล็บจิกแล้วไม่บุ๋มลงไปก็โอเคแล้วล่ะ
Q: ถ้าใช้ดินตกแต่งถ้วยแก้ว จะเอาเข้าอบพร้อมแก้วได้ไหม
A: ถ้าถ้วยแก้วหนาๆ ก็เข้าอบได้ค่ะ แต่จากที่ลองดินจะติดกับถ้วยเลย ดึงออกไม่ได้นะ
Q: สีดินหลังอบหมองจัง ทำยังไงดี!?
A: ทา Varnish เคลือบหลังอบเสร็จ
ปัญหาสีเพี๊ยนก่อนอบกับหลังอบมีหลายสาเหตุค่ะ สีเพี๊ยนมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจั
ปล. เวลาทา Varnish ไม่ต้องทาให้เยิ้มมากนะคะ ถ้าเยิ้มจะทิ้งรอยขาวๆ เหมือนไขมันที่แช่ตู้เย็น จะเป็นคราบขาวๆ ค่ะ
Q: ถ้าอยากแต่งสีเพิ่ม ทำยังไงดี!?
A: ใช้สีอะคริลิกแต้มเพิ่มเติมหลั
ถ้าอยากแต่งสีให้ได้ฟีลแบบขนมหรืออาหารที่สีอ่อนเข้มไม่เท่ากัน หลังอบเสร็จแล้ว ใช้สีอะคริลิกไม่ต้องผสมน้ำ ทาแต่งสีก่อนเคลือบด้วย Varnish ค่ะ แต่ถ้าอยากผสมสีเข้ากับ Varnish ให้แบ่ง Varnish ออกมาผสม ไม่งั้นจะทำให้ Varnish แข็งตัวได้ค่ะ
Q: ทำความสะอาดพู่กันที่ใช้ทา Varnish ยังไงดี!?
A: ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีหลังทาเสร็จ!
พู่กันที่ใช้ทา Varnish เสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำล้างออกก่อนจะแห้ง เพื่อไม่ให้พู่กันเสีย แต่ถ้า Varnish แห้งไปแล้ว ยังใช้น้ำมันสนล้างได้ แต่พู่กันจะสภาพไม่ดีเหมือนเดิมค่ะ
Q: ใช้กาวอะไรดีนะ
A: กาวตราช้างและกาวติดหนังเทียม (กาวยางเนื้อกาวสีเหลืองๆ)
หลังอบเสร็จ หากต้องประกอบชิ้นส่วนดินที่อบแล้วเข้าด้วยกัน ติดดินกับดินใช้กาวร้อน (กาวตราช้าง) ติดดินกับโฟมแผ่นและหนังเทียม PVC ใช้กาวสำหรับติดหนังเทียม (ที่เป็นกระป๋อง เนื้อกาวสีเหลืองๆ) ที่ไม่เวิร์คคือปืนกาว กาว E6000 กาวหลอดเหลืองๆ ของ UHU และกาวติดไม้ค่ะ ติดไม่อยู่
ปล. กาวตราช้างอาจทำให้ PVC ละลาย ต้องระวังด้วย
ปล2. ที่ดีที่สุดคือปั้นให้ติดกันแล้วเอาเข้าอบทั้งชิ้น งานแน่นสุดเลยค่ะ
แต่กาวตราช้างจะทิ้งรอยสีขาวๆ ไว้นิดหน่อย ระวังกันด้วยนะ!
Q: เสร็จงานแล้วเก็บดินยังไงดี!?
A: ใส่ในถุงซิปล็อครวมๆ กันก็พอ
ไม่จำเป็นต้องเก็บแยกกันก็ได้ค่ะ แค่ปั้นเป็นก้อนๆ แล้วใส่ถุงซิปล็อคไม่ให้โดนอากาศและฝุ่นมากเกินไปก็พอแล้ว เมื่อจะใช้ก็แค่เอามานวดๆ แล้วใช้ได้ปกติเลยค่ะ
ดินชนิดนี้จริงๆ ทางบริษัทเขาตั้งใจให้เด็กๆ ใช้ได้ด้วย ถ้าใครอยากฝึกกล้ามเนื้อมือของลูกหลานและอยากให้เขาได้ลองทำกิจกรรมในวันว่างๆ ก็เป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียวค่ะ
*-*-*-*-*-*-*-*-*-* Advertisement *-*-*-*-*-*-*-*-*-*
ขอขอบคุณบริษัท Nara Factory จำกัดที่สนับสนุนดิน Proto Polymer Clay ด้วยค่ะ
ติดต่อสอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่เพจ narafactory
ขอขอบคุณ Teerada เพื่อน (ติ่งญี่ปุ่น) นักปั้นที่ให้ความรู้ ข้อมูล และเทคนิคมา ณ ที่นี้ด้วยน้า…
ติดต่อสอบถามงาน Souvenir แบบไทยๆ จากดิน Proto ได้ที่ IG : mind.creations
*********************
ทั้งหมดเป็นการเขียนโดยจันเอง
ใครจะก๊อปไปไว้ไหน เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า
– แอดหนูจัน – บล็อกเกอร์ตัวกลม อารมณ์ดีที่ชอบหาอะไรทำสนุกๆ ภายในบ้าน รักการเขียน การอ่าน การวาดรูป และการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองเป็นชีวิตจิตใจ หลงใหลในมนต์เสน่ห์ของเครื่องเขียน อุปกรณ์งานฝีมือและอุปกรณ์ศิลปะ Craft it Myself • Draw my Life • Create my World