Nuchun's Atelier

บล็อกรีวิวเครื่องเขียน l สีมาร์คเกอร์ l อุปกรณ์วาดรูป พร้อมวิธีทำงานประดิษฐ์สนุกๆ ที่ทำได้ที่บ้าน

Subtitle – พื้นฐานการแปลซับไตเติล

มาต่อเรื่องการแปลซับไตเติลกันต่อค่ะ ノ´▽`)ノ
หลังจากที่คุณผู้อ่านได้เรียนรู้หน้าที่และขั้นตอนของทีมซับไปแล้ว
วันนี้จันจะมาแนะนำเกี่ยวกับพื้นฐานการแปลค่ะ (≧▽≦)

เทคนิคการแปลนี้ได้มาจากการเรียนวิชาการแปลที่มหาวิทยาลัย
ต้องขอขอบคุณอาจารย์มา ณ ที่นี้ค่ะ (,,・∀・)

ก่อนอื่นมาเข้าใจคำว่าการแปลกันก่อนนะ (≧∇≦)
การแปลคือการเปลี่ยนจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้สารครบถ้วน (ทั้งความหมาย รูปแบบ อารมณ์ และ ความแฝง)
และเป็นไปตามธรรมชาติของภาษาที่เราแปล

นอกจากนี้การแปลยังเป็นการทำงานข้ามวัฒนธรรม
เนื่องจากสิ่งที่เราแปลไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือบทภาพยนตร์
ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนวัฒนธรรมของชาตินั้นๆออกมาทั้งสิ้น (o≧д≦)ノ

ดังนั้นการแปลจึงไม่ใช่เรื่องง่าย
ไม่ใช่แค่การแปลคำศัพท์
ไม่ใช่แค่เข้าใจแล้วจะทำได้
แต่ต้องรู้ด้วยว่าจะถ่ายทอดออกมาได้อย่างไร

เหมือนประโยคว่า
‘ That’s right ! ‘ ไม่ได้แปลว่า นั่นทางขวา นั่นแหละค่ะ

การแปลซับไตเติล
มักเป็นการแปลแบบเอาความ
เน้นเนื้อหาและอารมณ์เป็นหลักใหญ่ ,・∀-、

ข้อจำกัดของการแปลซับไตเติล (-_-メ;)
คือ ‘ พื้นที่ ‘ ค่ะ
จริงๆแล้วบางคนอาจจะไม่แคร์เรื่องนี้
ใส่ footnote มาเต็มที่
แต่ในตามหลักแล้ว ข้อจำกัด นี้ระบุไว้อย่างชัดเจนเลยค่ะ ε=ε=┏( ・_・)┛

คนแปลซับต้องแปลให้คำพูดนั้นอยู่ในพื้นที่ที่พอดี
ไม่ยาวจนเกินไป \(^^)/
เพราะมันมีผลกระทบทั้งพื้นที่
และการอ่านซับไตเติลของผู้ชมหนังด้วยค่ะ ”(ノ> <)ノ
(ผู้อ่านอาจจะอ่านไม่ทัน
ต้องpauseหนังเพื่ออ่านซับ
เป็นการเสียอรรถรถ
หรือโฟกัสกับการอ่านซับมากเกินไปจนไม่สนใจภาพที่หน้าจอได้ค่ะ)

สิ่งที่พึงระวังในการแปลมีดังนี้ค่ะ
1. สรรพนาม (o≧д≦)ノ
อันนี้ขอยกตัวอย่างซับengเป็นหลักแล้วกันนะคะ
ภาษาอังกฤษ สรรพนามบ้านเขา
บุรุษที่ 1 มีแค่ I กับ We
บุรุษที่ 2 มีแค่ You
บุรุษที่ 3 มี he, she, it
แต่บ้านเรามีหลากหลายกว่าเขามาก
บุรุษที่ 1 ฉัน ผม เรา พวกเรา
บุรุษที่ 2 คุณ นาย แก เธอ พวกนาย พวกเธอ พวกแก พวกคุณ
บุรุษที่ 3 เขา เธอ ..
คือจะบอกว่าโครงสร้างภาษามันต่างกัน
เราต้องดูให้ดีค่ะ
ใช้แทนใคร
มีกี่คน
อาวุโสหรือเปล่า
สนิทกันแค่ไหน
ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม (o^冖^o)

แล้วถ้าจะใช้อันไหนก็ให้ตกลงกัน(ถ้าคนแปลมีหลายคน)(T▽T)
แล้วใช้ให้เหมือนกัน
ไม่งั้นคนดูจะงงค่ะ Σ(°Д°;
นอกจากว่ามีจุดเปลี่ยนความสัมพันธ์ก็ค่อยเปลี่ยนให้เข้ากัน

เช่น พระนางยังไม่สนิทกัน
พระเอกแทนตัวเองว่า ‘ผม’ และเรียกนางเอกว่า ‘คุณ’ (,,・∀・)
แต่พอสนิทกันมากขึ้น
เราก็เปลี่ยนเป็น
พระเอกแทนตัวเองว่า ‘ฉัน’ และเรียกนางเอกว่า ‘เธอ’ ,・∀-、
และนางเอกอาจจะเรียกพระเอกว่า ‘นาย’ ก็ได้ค่ะ
แบบนี้เป็นต้น

ใครกลัวหลงลืมแนะนำให้ทำชาร์ตตัวละครพร้อมสรรพนามและชื่อของตัวละครที่เราเขียนทับศัพท์ไปแล้วค่ะ

2. การทับศัพท์ ( *^▽^)
คำบางคำเราสามารถใช้ทับศัพท์เลยได้
ในกรณีที่คำนั้นทับศัพท์เป็นวงกว้างอยู่แล้ว
อย่างคำว่า ทวิตเตอร์ เฟสบุค หรือเมลล์
นอกจากนี้คำว่า ‘ ซัง ‘ ของญี่ปุ่น
จันว่าทับศัพท์ไปเลยจะเหมาะกว่า
เพราะบ้านเราไม่มีคำที่สามารถใช้แทนได้ (“▽”*)

(แต่ถ้าเป็นแปลนิยายหรือหนังสือโดยมากแล้วจะใช้คำว่าคุณแทนค่ะ

ถ้าคิดว่าผู้ชมของเราเป็นคอซีรีส์อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ค่ะ)

3. เลือกอุทานให้เหมาะสมแต่อย่าให้เวอร์เกินไป
Ouch ! ก็ใช้คำว่าโอ้ย ! ก็พอ
อย่าใช้คำหยาบคาย (*`д´)σ=σ

4. คำลงท้าย (;^ω^A
บ้านเรามีคำลงท้าย ‘ค่ะ’ ‘คะ’ ‘ครับ’ ‘นะ’ ‘ล่ะ’ …
ใส่ลงไปตามสถานการณ์
แต่อย่าใช้ดะหรือใช้ซ้ำๆ
(อันนี้เคยโดนติงมาเหมือนกันค่ะ T^T)

5. อย่าใส่คอมเมนท์ส่วนตัว (ノ-_-)ノ~┻┻
‘อุ๊ยกริ๊ด..เขารอมานานแล้ว’
มักจะเจอตามซับพวกรายการทีวี
ให้ผู้ชมอินเองดีกว่านะคะ
อย่าใส่มันลงไปเลย

6. เวลา (≧▽≦)
ภาษาอังกฤษมี tense คำๆเดียวของเขา
สามารถบอกเวลาและการกระทำไปพร้อมๆกัน
แต่บ้านเราไม่มี
ต้องใส่คำบอกเวลาเพิ่มลงไป
อย่าลืมใส่ลงไปด้วยเพื่อให้บอกชัดเจนว่าที่พูดถึงอยู่
เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต

7. สำนวน หรือ คำ ให้เช็คความหมายให้ดี
ให้เข้ากับบริบทไม่งั้นจะแปลผิดไปไหนได้

ขอบคุณรูปจาก Chinna แห่ง D-addicts (คนปล่อย Hardsub ค่ะ)

นี่เป็นข้อควรระวังทั่วไปของการแปลค่ะ
สำหรับตอนหน้าจะมาว่าด้วยเรื่องเทคนิคการแปล
ของบทเจ้าปัญหากันค่ะ

*********************
ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า