Nuchun's Atelier

บล็อกรีวิวเครื่องเขียน l สีมาร์คเกอร์ l อุปกรณ์วาดรูป พร้อมวิธีทำงานประดิษฐ์สนุกๆ ที่ทำได้ที่บ้าน

Subtitle – กว่าจะได้ซับ..สักตอน

เจอกันทุกวันศุกร์ยามค่ำคืนค่ะ(≧▽≦)
วันนี้มาต่อกันด้วยเรื่องการแปลซับไตเติลค่ะ(,,・∀・)

กว่าจะได้ซับหนังสักตอนไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ
ซีรีส์ 1 ตอน ความยาวโดยประมาณ 45 นาที
คนแปลต้องแปลประมาณ 600 ประโยค

มีทั้งสั้นและยาวปนกันไป (^ _ ^;)

ขอบคุณรูปจาก Chinna แห่ง D-addicts (คนปล่อย Hardsub ค่ะ)

ข้อแนะนำสำหรับคนแปลมีดังนี้ค่ะ
1. โหลดหนังตั้งแต่ไฟล์ไม่มีซับออก (-^口^-)
คนแปลที่ทำงานกับซอฟซับ
ควรมีไฟล์ raw หรือไฟล์ที่ไม่มีซับมาไว้ในครอบครองค่ะ
เนื่องจากเวลาแปลแล้ว
เราจะต้องเช็คกับไฟล์ซับที่เราแปล
ดังนั้นโหลดไฟล์ raw รอไว้เลย(^∀^)ノ

2. ดูหนังหลายๆรอบระหว่างรอซับ ( ̄∀ ̄)
ใครว่าการดูหนังไม่มีซับเป็นเรื่องเสียเวลา
ไม่จริงเลยค่ะ
ถ้าเราอ่านเรื่องย่อก่อนหรือรู้ทิศทางของเรื่องอยู่แล้ว
จะทำให้เราเข้าใจหนังได้ไม่ยากค่ะ (。・∀・)
การดูหนังโดยไม่มีซับจะทำให้เราโฟกัสที่อารมณ์และท่าทางของตัวละครได้ดีกว่า
เมื่อเราพยายามจะเข้าใจแล้ว
เราจะค่อยๆจินตนาการคำพูดของตัวละครได้อย่างช้าๆ (o^冖^o)
ทำให้เรามีภาพของตัวละครอยู่ในหัว
และสามารถใช้คำพูดที่เหมาะกับตัวละครได้ง่ายขึ้นค่ะ

3. เมื่อซับที่เราจะแปลออก (เช่นซับ eng) (-^口^-)
ดูหนังควบคู่กับซับรอบแรกทั้งหมด
ดูให้เข้าใจเนื้อหาและอารมณ์ของตัวละคร
พอรอบสองให้เช็คคำพูดที่เราจินตนาการไว้เมื่อตอนที่ยังไม่ได้ดูซับ
แล้วคิดคำพูดที่เราจะแปลไว้คร่าวๆ (≧▽≦)

4. เมื่อต้นฉบับซอฟซับออก (^◇^)v
ถ้าเราแปลซอฟซับจากซับอิ้ง
จะเป็นเรื่องง่ายกว่าซับภาษาที่เราไม่รู้จัก (´・ε・`)
เพราะเราสามารถที่จะเข้าใจความหมายและแปลได้
โดยไม่ต้องดูไฟล์เทียบตลอดเวลา
แปลลงซอฟซับโดยเขียนคำพูดเป็นภาษาของเราลงไปแทนภาษาเดิมได้เลย

แต่ถ้าซอฟซับที่เราใช้อาจเป็นซอฟซับของภาษาที่เราไม่รู้จัก (>_<)
อย่างเช่นเรื่อง Sunao ni Narenakute ที่จันแปล
ใช้softsubของเกาหลีแล้วแกะซับจากHardsubภาษาอังกฤษในยูทูบเอา
ตัวอักษรในซอฟซับก็อ่านไม่รู้เรื่อง
ไทมมิ่งของซอฟซับกับฮาร์ดซับก็ไม่ตรง 。゜(p´ロ`q)゜。

ทีนี้จะทำยังไง
จะเช็คซับ เช็คยูทูบทีละประโยคก็ไม่ไหว
เทคนิคง่ายๆมีสองอย่างค่ะ

1. สังเกตจำนวนคำ ( *^▽^)
ถ้าพูดยาวๆประโยคที่แปลก็จะยาวตาม
ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรมันก็ต้องเป็นอย่างนั้น

2. สังเกตเครื่องหมายค่ะ (≧▽≦)
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องหมายตกใจ (!)
เครื่องหมายคำถาม (?)
หรือจุด (…) ที่แทนการเว้นวรรคหรือกำลังจะพูดอะไรต่อ
มักจะมีในซับไตเติลอยู่บ่อยๆแทนการแสดงอารมณ์
เราต้องสังเกตให้ดี
เพราะไม่ว่าจะใช้ซับภาษาอะไร
ก็มีแต่เครื่องหมายเหล่านี้นี่แหละค่ะที่จะใช้ตรงกัน(o^冖^o)

5. ตรวจสอบสิ่งที่ตัวเองแปลบ่อยๆ ┌|≧∇≦|┘゙
หลังจากที่แปลสักสองหรือสามประโยค
ควรลองนั่งดูสิ่งที่ตัวเองแปล
เพื่อเช็คภาษาว่ารู้เรื่องไหม
ตรงกับคาแรคเตอร์ที่พูดไหม
และที่พูดตรงกับซับหรือเปล่า
(。^з^)〜♪

เมื่อเราแปลจนจบหมดแล้ว
ก็ลองดูทั้งหมดอีกรอบสองรอบ
เพื่อดูว่าเข้ากับบริบทหรือเปล่า
ภาษาเป็นธรรมชาติไหม
อารมณ์ถึงไหม
คำต่อท้าย(ค่ะ ครับ)ถูกต้องตามตัวละครหรือเปล่า
สรรพนามถูกไหม
( ̄x ̄)

หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของQCที่จะปรับบทของเราอีกรอบนึง
นี่ก็เป็นขั้นตอนของการแปลซับไตเติลค่ะ

อาทิตย์หน้าจะมาต่อพื้นฐานการแปลกันค่ะ !
ヽ(゚∀゚ )ノ

*********************
ทั้งหมดเป็นการเขียนและวาดโดยจันเองใครจะก๊อปไปไว้ไหน
เครดิต www.nuchun.com ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่า